อ่อง ซาน ยุยงเจ้าฟ้า เพื่อร่วมเอกราชกับพม่า
23.12.1946 อ่อง ซาน ไปงานปีใหม่ที่รัฐคะยา แล้วเข้ามารณรงค์เรื่องเอกราชในรัฐฉาน และได้พบปะกับกลุ่มหนุ่มสาวเอเชียในรัฐฉานแล้วที่ตองกีได้พูดกระตุ้นในกลุ่มว่า คำว่าเอกราชนั้น สมควรที่จะทำให้ได้ในเร็ววัน แต่เราต้องรวมตัวกันเป็นพลังจึงจะสามารถเรียกร้องเอกราชได้ เพื่อรัฐฉานจะได้ไม่ถูกรุกรานต่อไป (อังกฤษ) จึงควรประกาศเอกราชร่วมกับพม่า
25.12.1946 อ่อง ซาน ได้ขอเข้าพบเจ้าฟ้า และจัดประชุมขึ้น โดยมีรองเจ้าฟ้ายองห้วย เจ้าฟ้าเมืองป๋อน ป๋างหมี หลอยหลวง เชียงตุง ลายค่า โหโปง และหนองหวอน อ่อง ซานได้พูดว่า ปัจจุบันสถานการณ์ของโลกเปลี่ยนแปลงไปมาก ความเป็นเอกราชมีความสำคัญ สำหรับพม่านั้นจะได้รับเอกราชแน่นอน พม่ามีความประสงค์ที่นำรัฐฉานให้ได้รับเอกราชร่วมกับพม่าด้วย พม่าไม่อยากเห็นรัฐฉานอยู่ภายใต้การปกครองของผู้รุกรานต่อไปอีก เพราะเมื่อพม่าเป็นรัฐเอกราช แต่ในขณะที่รัฐฉานยังคงอยู่ภายใต้การปกครองของผู้รุกรานซึ่งมาแต่แดนไกล เราคงต้องขัดใจกันหรือรบกันแน่ เมื่อพม่าต้องรบกับผู้รุกราน ให้พิจารณาดูว่าจะอยู่ข้างผู้รุกราน หรือพม่า
1946 เจ้าส่วยแต้ก เจ้าฟ้ายองห้วย ได้ทำหนังสือประกาศถึงเจ้าฟ้าและชาวรัฐฉานว่า 1. ให้รัฐฉานได้เอกราช แต่คงอยู่ภายใต้อารักขาของอังกฤษ (Dominion) ต่อไป 2. ให้การเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารรัฐฉานจากเจ้าฟ้าและประชาชน 3. ให้มีการก่อตั้งกองทัพรัฐฉาน
1.1946 เจ้าคณะกรรมการบริหารเพื่อป้องครองรัฐฉาน ได้ประชุมกันเรื่องอนาคตรัฐฉานที่ป๋างหลวง เดือนมีนาคม ประชุมกันที่ตองกี และเดือนกรกฏาคม 1946
30.12.1947 คณะกรรมการเจ้าฟ้าได้โทรสาร ไปถึงผู้สำเร็จราชการอังกฤษนายแอตลี ที่ร่างกุ้ง ว่า อ่อง ซาน มิใช่ตัวแทนรัฐฉาน หากจะคุยราชการเรื่องรัฐฉาน ขอให้พูดกับเจ้าฟ้าโดยตรง
9.1.1947 อ่อง ซาน ได้เดินทางไปถึงลอนดอน ประเทศ เพื่อขอเอกราช นอกจากจะพูดในเรื่องเอกราชของพม่าแล้ว ทั้งที่คณะเจ้าฟ้ามิได้ให้อ่อง ซานเป็นตัวแทนรัฐฉาน แต่อ่อง ซานก็ยังได้พูดอ้างชื่อรัฐฉานว่ายินดีที่จะร่วมกับพม่า ซึ่งอังกฤษก็ไม่เห็นด้วยที่อ่อง ซาน พูดแทนรัฐฉาน เพราะรัฐฉานมิได้ส่งตัวแทนมาโดยตรง อ่อง ซาน จึงติดต่อมายังกลุ่มหนุ่มสาวเอเชียในรัฐฉาน ทางกลุ่มนี้จึงได้ให้คำสนับสนุนอ่อง ซานในนามของรัฐฉานไปติดต่อไปที่อังกฤษ ด้วยเหตุนี้ เสียงอังกฤษจึงอ่อนลง
1947 ในขณะที่อ่อง ซานที่เดินทางไปลอนดอน นายอูนุ ได้เรียก นายอูเผ่ขิ่น (พม่ามุสลิม) ประธานกลุ่มหนุ่มสาวเอเชียในรัฐฉานเข้าพบแล้วชี้แจงเรื่องการได้เอกราช เพื่อกลับไปทำความเข้าใจกับเจ้าฟ้าเรื่องการนำรัฐฉานเข้าร่วมกับพม่า และนายอูเผ่ขิ่นได้เข้าพบเจ้าส่วยแต้กในเวลามา แต่แผนการยังไม่ประสบผลสำเร็จ
15.1.1947 นายอูเผ่ขิ่น (พม่ามุสลิม) ได้เดินทางไปตองกี ได้พูดกับกลุ่มฯ เรื่องที่เจ้าฟ้าได้โทรเลขไปถึงนายแอตลีที่ร่างกุ้งว่า อ่อง ซานมิใช่ตัวแทนชาวรัฐฉาน ด้วยเหตุนี้ เขาจึงเรียกประชุมคณะกรรมการกลุ่มฯ ที่ตองกี และประกาศถึงอุดมการณ์ของกลุ่มฯ ต่อหน้าประชาชน โดยเดินชุมนุมทั่วเมืองด้วยคำว่า เอกราชร่วมกับพม่า ต่อต้านผู้รุกราน และติดต่อไปที่กรุงลอนดอนว่า อ่อง ซาน เป็นผู้แทนรัฐฉาน มีอำนาจและหน้าที่ในการพูดและตัดใจเกี่ยวกับรัฐฉาน นอกจากเจ้าฟ้าเพียงไม่กี่องค์เท่านั้น นอกนั้นชาวรัฐฉานทั้งหมด เห็นพร้อมต้องกันที่จะร่วมกับพม่า
21.1.1947 คณะกรรมการเจ้าฟ้าไตได้ประชุมกันแล้วทำหนังสือถึงผู้สำเร็จราชการอังกฤษว่า การที่รัฐฉานจะเข้าร่วมกับพม่านั้น ทางคณะกรรมการเห็นว่ายังไม่ถึงเวลา
27.1.1947 เมื่อทางกลุ่มหนุ่มสาวเอเชียในรัฐฉานได้ติดต่อไปถึงอ่อง ซาน เรื่องรัฐฉานมีความประสงค์จะเข้าร่วมกับพม่า เมื่ออังกฤษยอม จึงได้เกิด สัญญา อ่อง ซาน-แอดลี ความย่อว่า พม่าและอังกฤษมีหน้าที่ที่จะทำความเข้าใจกับชาวรัฐฉานในเรื่องการนำรัฐฉานร่วมกับพม่านั้นต่อไป และจะแบ่งอำนาจในการบริหารส่วนรัฐและส่วนรวมให้กับรัฐฉานด้วย
3-12.2.1947 คณะกรรมการเจ้าฟ้าและตัวแทนประชาชนได้ประชุมกันที่ป๋างหลวงรัฐฉานใต้ โดยเชิญผู้แทนชาวคะฉิ่นเข้าประชุมด้วย ซึ่งประกอบด้วย 1. สวา ตูวา สิ่นวาหน่อง 2. เถ่ง นาน กุ่น จ่า 3. เผ่ หน่อ 4. ตูวา จ่อริด 5. กะเหร่งหน่อ 6. เต่งระต่าน 7. ฉ่านจ่ง 8. ถ่องอู่
ที่ประชุมได้ข้อตกลงว่า จะจัดตั้งคณะกรรมการร่วมทั้งเจ้าฟ้าและตัวแทนจากประชาชน(Council of Shan State)
5.2.1947 กลุ่มหนุ่มสาวเอเชียในรัฐฉาน ออกประกาศไม่ยอมรับการประชุมคณะกรรมการเจ้าฟ้าดังกล่าวและแจกจ่ายไปทั่ว
6.2.1947 เกิดประชุมสองกลุ่มก๊ก 1. กลุ่มหนุ่มสาวเอเชียในรัฐฉาน ประชุมกันที่ตองกี เรียกร้องให้มีการรวมกับพม่าในเร็ววัน แต่หากต้องการแยกตัวก็สามารถแยกออกได้ 2. คณะกรรมการเจ้า และคะฉิ่นประชุมกันที่ป๋างหลวง ได้เห็นพ้องกันว่า เมื่อรวมกับพม่า สามารถมีอำนาจและความเป็นอิสระในการปกครองตนเองก็มีความเป็นไปได้ในการเข้าร่วม ด้วยเหตุนี้ จึงได้จัดทำกฎเสนอ 5 ข้อ ว่า 1. ให้มีประชาธิปไตยอย่างเท่าเทียมกัน 2. ให้มีผู้แทนของรัฐที่มีอำนาจหน้าการบริหารในส่วนกลางและส่วนของแต่ละรัฐ และรัฐมีความอิสระในปกครอง การทหาร การต่างประเทศ การขนส่งคมนาคม และภาษีในรัฐของตนเอง 3. ให้จัดพื้นที่ให้ชาวคะฉิ่นมีรัฐของตนเอง 4. สัญญา อ่อง ซาน-แอตลี อย่าให้มีความเกี่ยวข้องกับไทยใหญ่ และคะฉิ่น 5. หลังการร่วมกับพม่าแล้ว รัฐฉานต้องการแยกตนเองออกจากพม่าเมื่อใด ก็สามารถดำเนินการได้ ผู้ร่วมลงชื่อในที่ประชุม 1. เจ้าขุนปานจิ่ง เจ้าฟ้าน้ำสั่น (ต่องแป่ง) 2. เจ้าส่วยแต้ก เจ้าฟ้ายองห้วย 3. เจ้าห่มฟ้า เจ้าฟ้าแสนหวี 4. เจ้าหนุ่ม เจ้าฟ้าลายค่า 5. เจ้าจ่ามทุน เจ้าฟ้าเมืองป๋อน 6. เจ้าทุนเอ เจ้าฟ้าสาเมืองคำ 7. นายติ่เอ ตัวแทนประชาชน 8. นายขุนพง ,, 9. นายทุนมิ่น ,, 10. นายจ่าปู้ ,, 11. นายขุนจอ ,, 12. เจ้าเหยียบฟ้า ,, 13. นายขุนที ,, 14. สวา ตูวา สิ่นวาหน่อง ผู้แทนคะฉิ่น เมืองแมดกีนา 15. เต่งระต่าน ,, 16. ตูวา จ่อริด ,, 17. ตูวา จ่อละ ผู้แทนคะฉิ่น บ้านหม้อ 18. ตูวา จ่อทุน ,, 19. ละป่าน กะร่อง ,,
6.2.1947 วันนี้เช่นกัน คณะกรรมการเมืองชินก็ได้เดินทางมาเข้าร่วมประชุมรวม 3 คน คือ นายหลว่ามล ผู้แทนพะลำ นายต่องจ่าขบ ผู้แทนตีเต่ง และนายกี่โหยะมาน ผู้แทนฮาคา ในที่ประชุม 3 ชนชาตินี้ได้เพิ่มกฎการรวมตัวกันเพิ่มอีก 3 ข้อ คือ 1. งบประมาณของรัฐแต่ละรัฐ ต้องประเมินตามจำนวนประชากรเป็นหลัก 2. ในกรณีที่รัฐชินขาดงบประมาณ ให้พม่าช่วยเหลือรัฐชิน 3. ไทยใหญ่ คะฉิ่น และชินให้มีคณะกรรมการของตนเองที่สามารถตัดสินใจได้ด้วยตนเอง
6.2.1947 ไทยใหญ่ คะฉิ่น และชินได้ตั้งคณะอนุกรรมการร่วมขึ้นมาพร้อมกฏข้อเสนอ เพื่อไปเจรจากับอ่อง ซาน ซึ่งประกอบด้วย นายจ่าปู้ เจ้าฟ้าเมืองป๋อน สวา ตูวา สิ่นวาหน่อง ตูวา หล่อลน เป็นต้น เมื่อความทราบถึงอังกฤษ อังกฤษก็ไม่ยอมรับ โดยอ้างว่าคณะอนุกรรมการและกฎข้อเสนอนี้เป็นเพียงมติของเจ้าฟ้า โดยประชาชนมิได้มีส่วนร่วม และจะต้องมีการจัดตั้งคณะกรรมการแห่งรัฐฉานขึ้นมาโดยตรงและมีประชาชนเข้าร่วมด้วย
ในด้านรัฐกระเหรี่ยง และรัฐคะยาก็ได้เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ด้วย แต่มิได้มีคณะกรรมการ หรือข้อตกลงร่วมกันแต่อย่างใด
7.2.1947 เวลา 07.00 น. จึงเกิดการประชุมเจ้าฟ้าและพลเรือนขึ้น และได้ก่อตั้ง คณะกรรมการแห่งรัฐฉาน ขึ้นมาเพื่อปกครองรัฐฉานต่อไป โดยมีผู้คณะกรรมการฝ่ายละ 7 คน คือ คณะกรรมการฝ่ายพลเรือนประกอบด้วย 1. นายติ่นเอ จากเมืองยองห้วย 2. นายทุนมิ่น จากเมืองลางเคอ 3. นายขุนจ่อ จากปางตรา 4. นายขุนที จากป๋างหลวง 5. นายจ่าปู้ จากตองกี 6. เจ้าเหยียบฟ้า จากสี่ป้อ 7. นายขุนพง จากก้ดขาย
คณะกรรมการฝ่ายเจ้าฟ้าประกอบด้วย
1. เจ้าขุนปานจิ่ง เจ้าฟ้าน้ำสั่น (ต่องแป่ง) 2. เจ้าส่วยแต้ก เจ้าฟ้ายองห้วย 3. เจ้าห่มฟ้า เจ้าฟ้าแสนหวีเหนือ 4. เจ้าขุนเขียว เจ้าฟ้าเมืองมีด 5. เจ้าจ่ามทุน เจ้าฟ้าเมืองป๋อน 6. เจ้าขุนจี่ เจ้าฟ้าสี่แส่ง 7. เจ้าทุนเอ เจ้าฟ้าสาเมืองคำ
7.2.1947 บรรดาเจ้าฟ้ากับประชาชนได้ประชุมกันจัดตั้งคณะกรรมการบริหารรัฐฉาน โดยมี ตัวแทนทั้งจากเจ้าฟ้าและประชาชนฝ่ายละ 7 คน ประกอบด้วย
ฝ่ายเจ้าฟ้า
1. เจ้าขุนปานจิ่ง เจ้าฟ้าน้ำสั่น (ต่องแป่ง) 2. เจ้าส่วยแต้ก เจ้าฟ้ายองห้วย 3. เจ้าห่มฟ้า เจ้าฟ้าแสนหวีเหนือ 4. เจ้าขุนเขียว เจ้าฟ้าเมืองมีด 5. เจ้าจ่ามทุน เจ้าฟ้าเมืองป๋อน 6. เจ้าขุนจี่ เจ้าฟ้าสี่แส่ง 7. เจ้าทุนเอ เจ้าฟ้าสาเมืองคำ
ฝ่ายประชาชน
1. นายติ่นเอ จากเมืองยองห้วย 2. นายทุนมิ่น จากเมืองลางเคอ 3. นายขุนจอ จากเมืองปางตรา 4. นายขุนที จากเมืองปางหลวง 5. นายจ่าปู้ จากเมืองตองกี 6. นายเหยียบฟ้า จากเมืองสี่ป้อ 7. นายขุนพง จากเมืองก้ดขาย
คณะกรรมการชุดนี้ได้จัดทำธงชาติไทยใหญ่ และเพลงชาติขึ้น ธงชาติมี 4 สี คือ สีเหลือง หมายถึง ชาวไตเป็นชนชาติมีสีผิวเหลือง เผ่ามงโก สีเขียว หมายถึง ผืนแผ่นดินรัฐฉานที่มีธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ สีแดง หมายถึง ความรักชาติและกล้าหาญเข้มข้นดังสีแดง สีขาววงเดือนอยู่ตรงกลาง หมายถึง จิตใจที่บริสุทธิ์
วันที่ 7 กุมภาพันธ์นี้ จึงกลายเป็นวันชาติของชาวไทยใหญ่สืบต่อมา
8.2.1947 เกิดการะประชุมกันอีก ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ได้มีการร่างกฎระเบียบปฏิบัติ สำหรับเจ้าฟ้าทุกองค์ ซึ่งมีดังนี้ 1. เจ้าฟ้าจะกดขี่ข่มเหงประชาชนมิได้ 2. เจ้าฟ้าจะเก็บภาษีซับซ้อนมิได้ 3. งบสำหรับการขอขมา จะเก็บเกินมิได้ 4. เจ้าฟ้า รองเจ้าฟ้า หรือผู้มีอำนาจ จะบังคับประชาชนให้ทำงานให้มิได้ 5. ห้ามมีการพนันขันต่อ นอกจากได้รับอนุญาต 6. การค้าขายระหว่างเมืองเจ้าฟ้าให้เป็นไปอย่างเสรี 7. ทุกคนมีเสรีภาพในการพูด การเขียน 8. หากเกิดกรณีข้อพิพาทระหว่างเจ้าฟ้า ต้องเสนอถึงคณะกรรมการบริหารเจ้าฟ้า 9. หากมีการละเมิดกฎระเบียบนี้ จะต้องได้รับโทษทัณฑ์
8.2.1947 อ่อง ซาน เดินทางมาที่ปางหลวง
9.2.1947 Bottemley and John Leyden ผู้สำเร็จราชการอังกฤษเดินทางมาถึง ปางหลวง
9.2.1947 ไต คะฉิ่น และชิน ประชุมกันจัดตั้งคณะกรรมการบริหารเมืองภูเขา (Supreme Council of the United Hill People=S.C.O.U.H.P.) ขึ้น และได้มีกฎระเบียบปฏิบัติดังนี้ คือ 1. คณะกรรมการชุดนี้ ให้คัดเลือกจากชาวไต คะฉิ่น และชิน ชาติละ 6 คน และมีอำนาจหน้าที่ในการบริหารเมืองภูเขา 2. คณะกรรมการชุดนี้ ให้เปิดการประชุมปีละครั้ง ในรัฐฉาน แต่หากมีกรณีเร่งด่วนให้เปิดประชุมได้ 3. สถานที่ในการประชุมให้เป็นไปตามคณะกรรมการชุดนี้ตกลงกัน ฯลฯ
11.2.1947 ต่อมาวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 1947 จึงได้คัดเลือกและแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารเมืองภูเขา ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากทั้งสามชาติ คือ 1. เจ้าส่วยแต้ก ตัวแทนไต ประธาน 2. เจ้าห่มฟ้า ,, 3. เจ้าจ่ามทุน ,, 4. นายทุนมิ่น ,, 5. นายจ่าปู้ ,, 6. เจ้าป๋อมหว่าว ,, 7. สวา ตูวา สิ่นวะหน่อง ตัวแทนคะฉิ่น รองประธาน 8. ตูวา จ่อริด ,, 9. แต่งระต่าน ,, 10. ปติระต่อง ,, 11. ตูวา จ่อทุน ,, 12. ตูวา จ่อละ ,, 13. ปุ่นจะหม่าน ,, 14. ถ่องติ่นเลี่ยน ,, 15. กี่โยหม่าน ,, 16.จิ่งแลง ,, 17. หลว่ามง ,, 18. มานเลง ,,
10.2.1947 ระหว่างที่เจ้าฟ้ากำลังประชุมกันอยู่นั้น อ่อง ซาน ก็ได้เดินทางมาที่ปางหลวงแล้วก็เกิดการประชุมสี่ฝ่าย คือ ไต คะฉิ่น ชิน และพม่าขึ้น โดยอ่อง ซาน ได้กล่าวถึงข้อตกลงที่ตนเองได้ไปพบปะกับรัฐบาลอังกฤษที่กรุงลอนดอนและว่า หากพม่าได้เอกราชแล้ว ก็อยากเห็นเมืองภูเขาได้รับเอกราชเหมือนกันกับพม่า เพราะไม่ต้องการเห็นอังกฤษยังคงมีอำนาจปกครองอยู่ในแถบนี้ต่อไปอีก
เมื่อ อ่อง ซานได้เสนอว่าเมืองภูเขาซึ่งรวมทั้งรัฐฉาน รัฐคะฉิ่น และรัฐชิน หากได้รับเอกราชพร้อมกัน ก็ให้รวมตัวกันกับพม่า โดยมีคณะรัฐบาลประกอบด้วยตัวแทนจากทุกชนเผ่า และมีความเท่าเทียมเสมอภาพกันในทุกรัฐ นอกจากนี้ยังได้เสนอเจ้าขุนปานจิ่ง เจ้าฟ้าต่องแป่ง ขึ้นเป็นประธานาธิบดีเป็นคนแรก แต่เจ้าขุนปางจิ่งได้เสนอเจ้าส่วยแต้ก เจ้าฟ้ายองห้วยขึ้นเป็นประธานาธิบดีคนแรก (1948-12.3.1952) เมื่ออ่อง ซานได้เสนอดังนั้น เจ้าฟ้าและชาวเมืองภูเขา จึงได้เสนอว่า 1. หากรวมกันขอเอกราชได้แล้ว ให้สามารถแยกตัวออกเป็นรัฐเอกราชในแต่ละรัฐได้ทันที 2. สัญญา อ่อง ซาน- แอตลี นั้น ไม่เกี่ยวข้องใด ๆ กับเมืองภูเขา 3. ให้เมืองภูเขามีตัวแทนในคณะบริหารรัฐบาล 4. เมืองภูมเขากับพม่าให้มีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกัน นอกจากนี้ให้ยกอำเภอบ้านหม้อ และแมดกีนาเข้าในไปอยู่ในเขตของรัฐคะฉิ่น 5. ให้ คณะกรรมการบริหารเมืองภูเขา (SCHOUP) ได้มีอำนาจหน้าที่ในการบริหารเมืองภูเขาเป็นการเฉพาะ
เมื่อเจ้าฟ้าและเมืองภูเขามีข้อเสนอเช่นนั้น อ่อง ซาน จึงมีทำข้อตกลงไว้ 4 ข้อ คือ 1. เรื่องแต่ละรัฐจะแยกออกเป็นเอกราชนั้น ให้เมืองภูเขาได้ตัดสินใจกันเองในที่ประชุมก่อตั้งสหภาพ หลังได้รับเอกราช 2. สัญญา อ่อง ซาน- แอตลี นั้น จำไม่นำมาเกี่ยวข้องใด ๆ กับเมืองภูเขา 3. สำหรับคณะบริหารรัฐบาลสหภาพนั้น ให้เมืองภูเขามีสิทธิในการเสนอที่ปรึกษาคณะรัฐบาลจำนวนหนึ่งคน ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยฯ สองคน และที่ปรึกษาทั่วไปอีกหนึ่งคน 4. ในนามสหภาพ ทุกรัฐมีความเสนอมภาพและเท่าเทียมกัน และข้อเรียกร้องของรัฐคะฉิ่นนั้น จะดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
10.2.1947 ขณะที่มีการประชุมกันอยู่นั้น ข้างนอกมีกลุ่มชนจากหลายเมือง (จังหวัด) คือ เมืองยองห้วย ตองกี ก้าลอ ฮายโฮ ปางตร้า ลอกจอก หลอยก่อ มาชุมนุมเพื่อหนุนการรวมตัวกับพม่าอย่างมากมาย บรรดากลุ่มชนเหล่าได้ถูกกลุ่มหนุ่มสาวเอเชียในรัฐฉาน (นิยมพม่า) ชักชวนมาหนุนโดยเฉพาะ ในที่ชุมนุมได้กล่าวเป็นเสียงเดียวกันตลอดว่า ต้องได้เอกราชในทันที, ไตและพม่า ต้องรวมเข้าด้วยกัน, ไตและพม่าต้องรักสามัคคีกัน, ไม่ต้องการผู้รุกราน, ไม่ต้องการผู้มาแบ่งแยก, ปล่อยเมืองไตเราในทันที
12.2.1947 เมื่อเป็นดังนั้น จึงได้เกิดการประชุมสัญญาประวัติศาสตร์ที่เรียกว่า สัญญาปางหลวง คือ ข้อตกลงสี่ฝ่าย ไต พม่า คะฉิ่น และชิน สัญญาฉบับนี้มี 9 ข้อหลักและมีความสำคัญมาก กล่าวคือ หากไม่มีสัญญาฉบับนี้ คำว่าสหภาพก็เกิดขึ้นไม่ได้ แต่จะมีสองประเทศ คือ ประเทศพม่า กับประเทศเมืองภูเขา (รัฐฉาน คะฉิ่น ชิน) การตกลงในสัญญาปางหลวงนี้มีผู้ลงชื่อรับรองประกอบด้วย ตัวแทนพม่า หนึ่งคน ตัวแทนเจ้าฟ้า 7 องค์ ตัวแทนประชาชน (นิยมพม่า) 7 คน ตัวแทน คะฉิ่น 4 คน ตัวแทนชิน 3 คน (ดูรายละเอียดสัญญาปางหลวงได้ที่หัวข้อต่อไป)
10.4.1947 คณะกรรมการบริหารเมืองภูเขา (เจ้าฟ้า) (SCHOUP) ได้ประชุมกันเรื่องการรวมกับพม่าเพื่อขอเอกราชและได้มีข้อตกลงไว้ 9 ข้อ ใจความโดยสรุป คือ ให้คณะกรรมการบริหารเมืองภูเขา (เจ้าฟ้า) ยึดหลักในความเสมอภาพและความเท่าเทียมกันทุกประการ
19.4.1947 อ่อง ซานได้พูดกับคณะบริหารเมืองภูเขาในงานเลี้ยงอาหารค่ำที่เมืองเหม่เมี่ยวว่า พม่าจะรักษาสนธิสัญญาต่าง ๆ ที่ได้ตกลงกันไว้ทุกประการ ภายในสิบปีจะทำให้ชนชาติต่าง ๆ ในรัฐภูเขาเกิดความสามัคคีกัน หากได้รับเอกราชแล้ว จะมีการจัดสรรอำนาจต่าง ๆ คือ ตำแหน่งประธานาธิบดีให้กับไทยใหญ่ จัดสรรตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดให้แก่กระเหรี่ยง จัดสรรตำแหน่งรัฐมนตรีให้กับผู้นำรัฐคะฉิ่น และชิน สำหรับเรื่องการแยกออกเป็นรัฐอิสระนั้นให้ไปพูดคุยตกลงกันในที่ประชุมใหญ่สหภาพครั้งแรก
19-23.5.1947 พม่าได้ประชุมเตรียมการเรื่อง การประชุมสหภาพ ซึ่งมีกำหนดประชุมร่วมกันทุกฝ่ายในวันที่ 6.6.1947 และได้คัดเลือกผู้ที่จะมาทำหน้าที่ในการร่างรัฐธรรมนูญจำนวน 111 คน และเริ่มร่างธรรมนูญ โดยตอนที่สามของร่างรัฐธรรมนูญว่าด้วยเรื่องการแยกตัวออกจากสหภาพว่า การที่จะสามารถแยกตัวออกได้นั้น ต้องมีองค์ประกอบสำคัญ 7 ประการ และได้กำหนดขั้นตอนการแยกออกไว้ดังนี้ 1. รัฐที่ประสงค์จะแยกออก ต้องอยู่ภายในสหภาพก่อนแล้ว 10 ปี 2. ให้คณะกรรมการบริหารของรัฐที่ประสงค์จะแยกออกมีเสียงสามในสี่จึงจะสามารถแยกออกได้ 3. ต้องเสนอความประสงค์ต่อสภาสหภาพ แล้วนำไปขอเสียงสนับสนุนจากคณะกรรมบริหาร รวมถึงประชาชนก่อน จึงจะสามารถกระทำได้
และเพื่อป้องกันการที่รัฐฉาน และรัฐอื่น ๆ จะแยกตัวออก พม่าจึงได้ร่างกฎขึ้นมาเพิ่มอีกจำนวนหลายด้วยกัน
5.1947 อ่อง ซาน ได้พูดกับคณะกรรมการพม่าว่า หากแต่ละรัฐรวมตัวเข้ากับพม่าได้สิบปีแล้ว พวกเขายังต้องการที่จะแยกตัวออกจากพม่าอีกแล้วละก้อ แปลว่าเรามีความสามารถไม่ถึง
10-18.6.1947 ได้มีการกำหนดจำนวนผู้มีอำนาจในการพิจารณาตัดสินรับรองในเรื่องร่างรัฐธรรมนูญจำนวน 55 คน ประกอบด้วย (เห็นความแตกต่างกันอย่างมาก) 1. ไทยใหญ่ 6 คน 2. คะฉิ่น 3 คน 3. ชิน 3 คน 4. อำเภอน้ำคง 1 คน 5. กระเหรี่ยง 5 คน 6. พม่า 37 คน
19.7.1947 อ่อง ซาน พร้อมด้วยเจ้าฟ้า เช่น เจ้าจ่ามทุนฯลฯ เจ้าฟ้าเมืองป๋อนได้ถูกสังหารในที่ประชุม
1950 พม่าเริ่มส่งทหารขึ้นมาในรัฐฉานเป็นครั้งแรกโดยอ้างว่า เพื่อป้องกันและขับไล่ทหารก๊กมินตั๋ง
21.5.1958 เกิดขบวนการกู้ชาติไทยใหญ่ขึ้นที่รัฐฉานใต้ โดยมีเจ้าน้อย ซอหยั่นต้า เป็นผู้นำ
24-29.4.1959 ได้มีการจัดพิธีเจ้าฟ้ามอบอำนาจให้แก่คณะกรรมการบริหารรัฐฉาน (โดยมีพม่าชักใยอยู่เบื้องหลัง) ในขณะเดียวกันพม่าก็ได้นำกองทหาร ปืนใหญ่ รถถัง รวมถึงเครื่องบินมาแสดงแสนยานุภาพในงานพิธีด้วย (จัดที่กรุงตองกี รัฐฉานใต้)
ความเหมือนที่แตกต่างในประวัติศาสตร์อันน่าจดจำ
1887 เจ้าฟ้าเกิดการพิพาทไม่ลงรอยกัน จึงไปนำอังกฤษที่ปกครองพม่าอยู่ขึ้นมาในรัฐฉาน
1947 เพราะพม่าได้สร้าง กลุ่มหนุ่มสาวเอเชียในรัฐฉาน ขึ้นมาเป็นจุดด่างหรือเป็นขุมกำลังต่อรองเพื่องานของตนเองในรัฐฉาน แล้วทำการต่อสู้คัดค้านระบบเจ้าฟ้า และหนุนให้รัฐฉานไปรวมกับพม่า จะเห็นได้ว่ากลุ่มนี้มีกำลังต่อรองค่อนข้างมาก เพราะสามารถเข้าร่วมประชุม และเป็นตัวแทนของประชาชนในที่ประชุม หรือในคณะกรรมการบริหารรัฐฉานมาตั้งแต่ต้น จบลงด้วยการยึดครองของพม่าเป็นผลสำเร็จ |